"เครน" คือ เครื่องจักรกลที่ใช้ในการยกสิ่งของขึ้นลงตามแนวดิ่ง และเคลื่อนย้ายสิ่งของในลักษณะแขวนลอยตามแนวราบ เครนมีอยู่ 2 แบบ คือ เครนเคลื่อนที่ได้ (Mobile Cranes) และ เครนเคลื่อนที่ไม่ได้ (Stationary Cranes)
1.เครนชนิดเคลื่อนที่ (Mobile Vranes) คือ เครนที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ควบคุม และ เครื่องต้นกำลังอยู่ในตัว ซึ่งเครนชนิดเคลื่อนที่ติดตั้งอยู่บนยานที่ขับเคลื่อนในตัวเอง เช่น รถเครนตีนตะขาบ (Crawler Crane), รถเครนล้อยาง (All Terrain Cranes), รถเครน 4 ล้อ (Rough Terrain Cranes), เครนติดรถบรรทุก (Truck Loader Crane)
2.เครนชนิดอยู่กับที่ เคลื่อนที่ไม่ได้ (Stationary Cranes) คือ เครนที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องต้นกำลังอยู่ในตัว เครนชนิดอยู่กับที่ติดตั้งบนหอสูง ขาตั้ง หรือ บนล้อเลื่อน เช่น เครนหอสูงหรือปั่นจั่นหอสูง (Tower Cranes), เครนราง (Overhead Cranes), เครนขาสูง (Gantry Cranes), เครนขาสูงแบบข้างเดียว (Semi Gantry Cranes)
1.เครนเหนือศรีษะ และเครนขาสูง (Overhead Crane and Gentry Crane)
2.เครนหอสูง (Tower Crane)
3.รถเครน เรือเครน (Mobile Crane)
1.หยุดยกของฉุกเฉิน - เหยียดแขนทั้งสองข้างออกไป ระดับหัวไหล่ ฝ่ามือคว่ำลงแล้วเหวี่ยงไป-มา ในแนวระดับไหล่อย่างรวดเร็ว
2.หยุดยกของ - เหยียดแขนซ้ายออกไปในระดับไหล่ แบบคว่ำฝ่ามือแล้วเหวี่ยงไป-มาในแนวระดับไหล่อย่างรวดเร็ว
3.ให้หยุดและยึดเชือกลวดทั้งหมด - กำมือทั้งสองเข้าหากันให้อยู่ในระดับเอว
4.ให้ยกของขึ้นช้าๆ - ยกแขนคว่ำฝ่ามือให้ได้ระดับคาง แล้วใช้นิ้วชี้ของมืออีกข้างหนึ่งชี้ตรงกลางฝ่ามือแล้วหมุนช้าๆ
5.ยกบูม - เหยียดแขนขวาออกสุดแขน แล้วกำมือ ให้นิ้วหัวแม่มือชี้ขึ้นด้านบน
6.นอนบูม - เหยียดแขนขวาออกสุดแขน แล้วกำมือให้นิ้วหัวแม่มือชี้ลงพื้น
7.ใช้รอกใหญ่ - กำมือ ยกขึ้นเหนือศรีษะแล้วเคาะเบาๆ บนศรีษะตนเองหลายๆครั้ง แล้วให้สัญญาณอื่นๆ ที่ต้องการ
8.ใช้รอกเล็ก - งอข้อศอกขึ้นกำมือระดับไหล่ โย้ไปข้างหน้าเล็กน้อย แล้วใช้มืออีกข้างแตะที่ศอก จากนั้นให้สัญญาณอื่นๆ
9.สวิงบูม ไปด้านที่มือชี้ - เหยียดแขนซ้ายหรือขวา ชี้ไปตามทิศทางที่ต้องการจะให้หมุนบูมไป
10.เดินหน้า - เหยียดฝ่ามือขวาตรงออกไปข้างหน้า ระดับไหล่ฝ่ามือตั้งตรงทำท่าผลักในทิศทางที่ต้องการให้รถเครนเคลื่อนที่
11.เลื่อนรอกขึ้น - ให้งอศอกขึ้นตั้งฉาก ชี้นิ้วชี้ขึ้นแล้วหมุนเป็นวงกลม
12.เลื่อนรอกลง - กางแขนออกเล็กน้อย ใช้นิ้วชี้ ชี้ลงพื้น แล้วหมุนเป็นวงกลม กำมือทั้งสองคว่ำลง แล้วยกขึ้น
13.ยกบูมขึ้นพร้อมกับเลื่อนรอกขึ้น - เหยียดแขนออกสุด แบมือตั้ง นิ้วหัวแม่มือชี้ขึ้นแล้วกวักนิ้วทั้งสี่ไปมา (ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือ)
14.ยกบูมพร้อมกับเลื่อนรอกลง - เหยียดแขนออกสุด แบมือ ให้นิ้วหัวแม่มือชี้ลง แล้วกวักนิ้วทั้งสี่ไป-มา (ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือ)
15.ยึดบูม - กำมือทั้งสองแบบหงาย ยกขึ้นเสมอเอว แล้วเหยียดนิ้วหัวแม่มือออกทั้งสองข้าง
16.หดบูม - กำมือทั้งสองคว่ำลง แล้วยกขึ้นเสมอเอว ให้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างชี้เข้าหากัน
งานอุตสาหกรรมทั้งในโรงงาน และ คลังสินค้าท่าเรือ ซึ่งมีอุบัติเหตุจากการใช้เครน หรือ ปั้นจั่น เป็นอัตราที่มากจากผู้เสียชีวิต พิการและบาดเจ็บ บ่อยครั้งนั้นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเพียงเพราะปัญหาด้านการสื่อสารระหว่างผู้ควบคุมเครน กับ ผู้ให้สัญญาเครน
ดังนั้น กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงได้กำหนดการใช้สัญญาณมือ ในการสื่อสารระหว่าผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับเครน (ปั้นจั่น) พ.ศ. ๒๕๕๓ ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 22 กันยายน พ.ศ.2553 (ราชกิจจานุเบกษา ๒๙ ตุลาคม ๒๕๕๓) กำหนดให้นำรูปภาพการใช้สัญญาณมือในการสื่อสาร นำไปติดไว้ที่จุดปฏิบัติงานในตำแหน่งที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถเห็นได้อย่างชัดเจน เพื่อลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการสื่อสาร
ที่มา / อ้างอิง
YOUTUBE : วิดีโอ สัญญาณสากล เครน
คอร์ส อบรม : อบรมเครน ปั้นจั่น ชลบุรี - Safetyinthai.com
คอร์ส อบรม : อบรม เครน ปั้นจั่น ชลบุรี บางแสน อมตะ - เซฟตี้อินไทย.com
บทความที่เกี่ยวข้อง : กฎกระทรวงการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น 2564 - เซฟตี้อินไทย.com
บทความที่เกี่ยวข้อง : สัญญาณมือ เครน-ปั้นจั่น สากล - เซฟตี้อินไทย.com
ลงวันที่ : จันทร์ 21 กุมภาพันธ์ 2565
อัพเดตล่าสุด 21 กุมภาพันธ์ 2565